พิมพ์งานในระบบเฟล็กโซ่ Flexographic
พิมพ์งานในระบบเฟล็กโซ่ Flexographic คือการพิมพ์แม่พิมพ์พื้นนูนประเภทหนึ่ง มีหลักการเดียวกับการพิมพ์เลตเตอร์เพรสคือ บริเวณภาพของแม่พิมพ์มีระดับนูนสูงกว่าบริเวณที่ไม่มีภาพ ระบบพิมพ์ Flexography หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า Flexo นั่นเอง ระบบพิมพ์นี้ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องของการผลิตบล็อคพิมพ์ และการพัฒนาเครื่องพิมพ์ อุตสาหกรรมที่ใช้ระบบ Flexo พิมพ์กลุ่มหลักๆ ได้แก่ กลุ่มกล่องกระดาษลูกฟูก, กระสอบชนิดต่าง ๆ, แผ่นฟิล์ม, ถุงหรือวัสดุอ่อนบางชนิดอื่น ๆ อีกมากมาย ในปัจจุบันระบบ Flexo ถูกพัฒนาอย่างมาก เพื่อให้ได้ภาพพิมพ์ที่สวยงาม ทั้งในด้านเครื่องพิมพ์ Flexo ที่สามารถพิมพ์ได้หลายสีมากขึ้น แม่พิมพ์Flexoที่เก็บรายละเอียดของเม็ดสกรีนได้มากขึ้น หมึกพิมพ์ซึ่งถูกพัฒนาเทคโนโลยีจากผู้ผลิตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาพพิมพ์ของระบบ Flexo ในปัจจุบัน มีความสวยงามต่างจากในอดีตมาก
ข้อดีของ Flexography มีดังนี้
1. เหมาะกับการพิมพ์ฉลากปริมาณมาก เนื่องจากการพิมพ์ด้วยวิธีนี้ จะมีค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการทำเพลท และการตั้งคำเครื่องพิมพ์สำหรับการพิมพ์ในแต่ละครั้ง ซึ่งเป็นต้นทุนคงที่ ดังนั้นยิ่งพิมพ์ในจำนวนที่มากก็จะทำให้ต้นทุนการพิมพ์มีราคาถูกลง
2. ความเร็วในการพิมพ์ โดยปกติแล้วการตั้งคำการพิมพ์นั้น จะใช้เวลาและวัตถุดิบค่อนข้างมากบางครั้งอาจใช้เวลานานหลายชั่วโมง หากแต่ระบบการพิมพ์แบบ Flexography จะสามารถพิมพ์ฉลากได้เร็วกว่าระบบอื่นๆ หลังจากตั้งคำการพิมพ์เรียบร้อยแล้ว
3. พิมพ์ได้มากกว่า 4 สี นอกจากสีพื้นฐาน 4 สี คือ CMYK แล้ว ยังสามารถเพิ่มสีพิเศษได้ตามความต้องการ เช่น สีเฉดต่างๆ ตามแพนโทน (Pantone) หรือสีเมทาลิค เป็นต้น
4. พิมพ์ลงบนวัสดุได้หลากหลาย Flexography สามารถพิมพ์ลงบนวัสดุสติกเกอร์แบบต่างๆ ได้หลากหลายตามความต้องการ ทั้งแบบกระดาษ พลาสติก ฟิล์มไวนิล แผ่นฟรอยล์ กระดาษเมทัลไลซ์ และฟิล์มเมทัลไลซ์ ฯลฯ
5. เหมาะกับฉลากที่มีความซับซ้อน สามารถพิมพ์ฉลากที่ต้องการความซับซ้อนได้มากกว่าฉลากทั่วไปเช่น การพิมพ์ Booklet Label, Multilayer Label, Hologram, ฟรอยล์ หรือฉลากที่มีการพิมพ์ซิลสกรีนผสม เป็นต้น
ข้อเสียของการพิมพ์ด้วยระบบเฟล็กโซกราฟี มีดังนี้
1. เกิดการยืดตัวของแม่พิมพ์และวัสดุที่ใช้พิมพ์ ต้องมีการชดเชยการยืดตัวในขั้นตอนในการทำอาร์ตเวิร์ค
2. การปรับแก้ไขการยืดตัวของแม่พิมพ์ทำได้ยากและใช้เวลามาก
3. ควบคุมค่อนข้างเป็นไปยากซึ่งมีความแตกต่างของวัสดุแต่ละประเภทที่นำมาใช้เป็นวัสดุพิมพ์
4.ภาพที่เกิดบนวัสดุที่ใช้พิมพ์จะมีความชัดเจนที่น้อยกว่าการพิมพ์ระบบอื่นๆ
ที่มา : https://sites.google.com/site/thipphawan12557/kar-phimph-baeb-flexographic